งานวิจัยของ Dyrdal ความสุขในชีวิตคู่ส่งผลต่อความสุขในอนาคตของชีวิตโดยรวมจริงหรือ?
ประชากรส่วนใหญ่บนโลกนี้มีความสุขเกือบตลอดเวลา การเป็นคนที่มีความสุขในชีวิตเป็นเป้าหมายของมนุษย์ตั้งแต่เคยมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ยกเว้นในบางวัฒนธรรมเท่านั้น
การค้นพบและงานวิจัยใหม่ๆ ให้ความสนใจกับผลกระทบทางจิตวิทยาหลังจากการมีบุตร นักวิจัยหลายท่านพยายามหาสาเหตุ ความสัมพันธ์ และผลกระทบของความสุข โดยใช้วิธีการที่ต่างกันไป
งานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อน ของ Brickman ในปี 1978 ค้นพบว่าระดับค่าเฉลี่ยความสุขของคนถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งนั้น ไม่ต่างจากความสุขของผู้ประสบอุบัติเหตุทั่วๆ ไป
ผลลัพธ์ของงานวิจัยชิ้นนั้นได้อ้างอิงทฤษฎีการปรับเข้าหาเส้นความสุขมาตรฐาน โดยกล่าวว่า ประชากรโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้าหาเส้นความสุขเฉลี่ยของตัวเอง หลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ผลงานวิจัยเรื่องการปรับเข้าสู่เส้นมาตรความสุข Brickman และ Campbell 1971; Diener et al. 2006; Lucas et al. 2003)
แม้ว่าค่าความสุขในชีวิตจะถูกพบว่ามีความคงที่มากตามช่วงเวลาต่างๆ แต่ค่าความสุขในชีวิตนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อต้องพบเจอเรื่องราวที่แย่ๆ ต่างๆ เช่น การหย่าร้าง (Lucas 2005) การถูกยกเลิกจ้างงาน (Lucas et al. 2004) การกลายเป็นคนทุพพลภาพ (Lucas 2007a) เรื่องแย่ๆ เหล่านี้สามารถเปลี่ยนค่าความสุขมาตรฐานได้อย่างถาวร
การเปลี่ยนแปลงของค่าความสุขมาตรฐานที่เกิดจากเหตุการณ์ดีๆ นั้นยังไม่ได้มีการวิจัยมากนัก แต่นักวิจัยก็ตอบว่า การประสบความสำเร็จต่างๆ นั้นจะทำให้มนุษย์รู้สึกมีความสุข และหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านั้น ก็คือการเป็นพ่อแม่คน (Kenrick et al. 2010)
ความสัมพันธ์ของค่าความสุขในชีวิตและค่าความสุขในชีวิตคู่
ก่อนจะมีการทำงานวิจัยชิ้นนี้ ข้อมูลของความสัมพันธ์ของค่าความสุขในชีวิต (Life satisfaction) และค่าความสุขในชีวิตคู่ (Relationship satisfaction) นั้นมีจำกัด และยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่ก็มีงานวิจัยข้ามสาขาของ Lance ในปี 1989 และ 1995 ที่กล่าวว่าค่าความสุขในชีวิตคู่ ส่งผลต่อค่าความสุขโดยรวมในชีวิต ในขณะที่งานวิจัยของ Headey ใน 1991 กล่าวว่า ทั้งสองค่าส่งผลต่อกันและกัน ส่วนงานวิจัยของ Glenn และ Weaver ในปี 1979 และงานวิจัยของ Hawkins และ Booth ในปี 2005 กล่าวว่า ค่าความสุขในชีวิตคู่นั้นส่งผลอย่างมากต่อค่าความสุขในชีวิต
กลุ่มผู้ทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้
งานวิจัยของ Dyrdal ได้ใช้กลุ่มผู้ทดลอง เป็นกลุ่มคุณแม่ชาวนอร์เวย์ เก็บข้อมูลโดยองค์กรสาธารณสุขนอร์เวย์ หรือ Norwegian Institute of Public Health (NIPH) ซึ่งถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการส่วนภูมิภาค และกองตรวจข้อมูลนอร์เวย์และการวิจัยทางการแพทย์
โดยสรุปแล้ว โปรเจคนี้เรียกว่า MoBa เป็นทีมงานที่ก่อตั้งในปี 1999 และมีหญิงตั้งครรถ์ทั้งหมด 100,000 คนในปี 2008 เข้าร่วมโปรเจค ซึ่งผู้หญิงท้องในนอร์เวย์เกือบทุกคนถูกขอเชิญให้เข้าร่วมโปรเจคนี้ผ่านจดหมายไปรษณีย์ และมีอัตราการตอบรับอยู่ที่ 45% โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการนัดหมายให้ไป ultrasound ในช่วงสัปดาห์ที่ 18 ของการตั้งครรถ์ (www.fhi.no/tema/morogbarn)
หลังจากตอบรับแล้ว ผู้เข้าร่วมจะต้องตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรก ในช่วงของการสมัคร ครั้งที่สองในช่วงสัปดาห์ที่ 22 และครั้งที่สาม ในช่วงสัปดาห์ที่ 30
และหลังจากพวกเธอคลอดแล้ว ก็ยังต้องตอบแบบสอบถามอีกครั้ง โดยครั้งที่ 4 คือระยะหลังคลอดแล้ว 6 เดือน ครั้งที่ 5 คือหลังจากคลอด 18 เดือน และครั้งที่ 6 คือหลังจากการคลอดบุตรแล้ว 36 เดือน
ผู้เข้าร่วมโปรเจค MoBa ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของโปรเจค อ่านงานวิจัยของ Magnus (2007) และ Magnus et al. (2006)
งานวิจัยนี้ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าร่วมโปรเจคระหว่างปี 1999 ถึงปี 2005 และไฟล์ข้อมูลถูกสร้างโดย NIPH ในเดือนเมษายน ปี 2007 งานชิ้นนี้ได้ใช้ข้อมูลจากคำถามครั้งที่ 1-6 มาวิเคราะห์
เพราะข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลของ MoBa ข้อมูลในช่วงของการสมัครจึงมีทั้งหมด 67,355 ชุด ข้อมูล และในช่วงสัปดาห์ที่ 22 มี 63,314 ชุด ข้อมูลในช่วงสัปดาห์ที่ 30 มี 51,739 ชุด ข้อมูลหลังคลอด 6 เดือนมีทั้งหมด 15, 267 ชุด
ค่าวัดในงานวิจัย
ค่าความสุขในชีวิต หรือ Life Satisfaction (LS)
สเกลที่ใช้วัดค่าความสุข มีชื่อว่า SWLS และใช้วัดค่าความสุขโดยรวมในชีวิต (Diener et al. 1985; Pavot and Diener 1993) โดยในแต่ละสเกลมีตัวเลือกคือ “ชีวิตของฉันมีความสุขมาก” และ “ฉันพอใจกับชีวิตของฉัน” เรทวัด 1-7 โดย 1 คือ ไม่เห็นด้วยอย่างมาก และ 7 คือ เห็นด้วยอย่างมาก (Likert scale)
ค่าเฉลี่ยของแต่ละคนจะถูกนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์ และผลลัพธ์คือค่าต่างๆ มีความสอดคล้องภายในที่ดี (ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ) โดยมีค่า Cronbach’s alphas อยู่ที่ .89 ในระยะเวลาที่ 1-3 และ .91 ในช่วงเวลาที่ 4
ค่าความสุขในชีวิตคู่ หรือ Relationship Satisfaction (RS)
ค่าความสุขในชีวิตคู่ถูกวัดโดย สเกลทั้ง 5 ของ Røysamb ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อโปรเจค MoBa โดยเฉพาะ เรียกว่า Quality Marriage Index หรือ QMI ค่าความสัมพันธ์ของ Norton อยู่ที่ .91 ซึ่งแสดงถึงความถูกต้องเชิงบรรจบที่สูงมาก โดยในแต่ละสเกลมีตัวเลือกคือ “ฉันพอใจในความสัมพันธ์ของฉันกับคู่รัก” “ฉันกับคู่รักมีปัญหากัน” “ฉันมีความสุขมากกับชีวิตคู่” “คู่รักของฉันเข้าอกเข้าใจฉัน” “ความเห็นเราตรงกันเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร”
เรทวัด 1-6 โดย 1 คือ ไม่เห็นด้วยอย่างมาก และ 6 คือ เห็นด้วยอย่างมาก (Likert scale) ค่า Cronbach’s alphas อยู่ที่ .85 ในระยะแรก .86 ในระยะที่สอง .87 ในระยะที่สาม และ .90 ในระยะที่สี่
เพื่อทำให้การวิจัยมีความคงที่ จึงมีการใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง หรือ Structural equation modeling (SEM) และ โมเดลแบบทิ้งช่วงเวลาระยะยาว หรือ Cross-lagged longitudinal models โดยทั้งหมดถูกนำมาทดสอบด้วยโปรแกรม Mplus
โดยผลลัพธ์คือตัวแปรทั้ง ค่าความสุขในชีวิต และค่าความสุขในชีวิตคู่ ต่างมีผลข้ามเวลาในตัวของมันเอง ( within-concept cross-time effects ) เช่น ค่าความสุขในชีวิตคู่ในระยะตั้งครรถ์ ส่งผลกับค่าความสุขในชีวิตระยะหลังคลอด และสอดคล้องกับการข้ามแนวคิดภายในเวลาสัมพันธ์ (cross-concept within-time relations) กล่าวคือ ทั้งค่าความสุขในชีวิต และค่าความสุขในชีวิตคู่ ส่งผลแก่กันและกันในช่วงระหว่างตั้งครรถ์ และยังส่งผลข้ามเวลาข้ามแนวคิด (cross-time cross-concept effects) กล่าวคือความสุขในชีวิตคู่ช่วงตั้งครรถ์ ส่งผลต่อความสุขในชีวิตหลังคลอดบุตร
โดยหลักแล้วคือการใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์แบบง่ายๆ เช่นสมการการถดถอย (Regression) และสมการความสัมพันธ์ (Correlation) การตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรในเชิงลึก การส่งผลพร้อมกันในหลายจุดเวลานั้นสามารถทำได้เช่นกัน ทำให้งานวิจัยนี้สามารถทำการค้นพบในเชิงซับซ้อนของทั้งสองตัวแปรได้มากขึ้น
การวิเคราะห์
พูดถึงว่าค่าความสุขในชีวิตและค่าความสุขในชีวิตคู่นั้น มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรถ์ ช่วงบุตรอยู่ในวัยทารก และในช่วงที่บุตรอยู่ในวัยหัดเดิน โดยค่าความสุขในชีวิตมีค่าเฉลี่ยแบบข้ามเวลาอยู่ที่ 5.42 - 5.73 (จาก 7) และค่าความสุขในชีวิตคู่มีค่าเฉลี่ยแบบข้ามเวลาอยู่ที่ 4.99-5.27 (จาก 6) จากช่วงเวลาทั้งหมด 3 ปีครึ่ง
เพื่อวินิจฉัยการเพิ่มขึ้นและการลดลงสัมบูรณ์ของค่าความสุขระหว่างการเปลี่ยนผ่านในเวลาต่างๆ คะแนนได้ถูกทำให้อยู่ที่ค่ามาตรฐาน โดยใช้คะแนนในช่วงสมัครเป็นเกณฑ์ และทำการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (paired-samples t tests)
ความเสถียรสัมพันธ์ของค่าความสุขในชีวิต และค่าความสุขในชีวิตคู่ บ่งชี้ว่าอัตสหสัมพันธ์ของค่าความสุขในชีวิตนั้น มีค่าน้อยกว่า และเสถียรน้อยว่าค่าความสุขในชีวิตคู่ในแต่ละช่วงเวลา (.46 - .60 VS .49 to .75)
ซึ่งหมายความว่าค่าความสุขในชีวิตนั้นผันผวนมากกว่าในแต่ละช่วงเวลา และค่าความสุขในชีวิตคู่ส่งผลต่อค่าความสุขในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น
ต่อมาเราได้หาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปรข้ามเวลาในทุกระยะ โดยใช้โมเดลการถดถอยอย่างง่าย โดยใช้คะแนนในแต่ละช่วงเวลามาเป็นตัวแปร จากแผนผังด้านล่าง จะเห็นชัดเจนว่าค่าความสุขในชีวิตคู่นั้นส่งผลอย่างมากต่อค่าความสุขในชีวิต 3 ปีครึ่งหลังจากนั้น แต่ค่าความสุขในชีวิตไม่ได้ส่งผลมากนักกับค่าความสุขในชีวิตคู่
ดังนั้น ผลลัพธ์นี้บ่งชี้ว่า การมีชีวิตคู่ที่ดีนั้นสำคัญมากสำหรับความสุขในชีวิตในระยะเวลาต่อมา แต่ความสุขส่วนตัวในชีวิตไม่ได้ส่งผลให้มีความสุขในชีวิตคู่มากขึ้น
โมเดลสมการโครงสร้าง
เพื่อการันตีความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้โมเดลทั้งหมด 5 แบบ นำมาทดสอบกับโมเดลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ในโปรแกรม Mplus
ความสัมพันธ์กันของค่าความสุขในชีวิต และค่าความสุขในชีวิตคู่ ระหว่างการเปลี่ยนผ่านในช่วงเวลาต่างๆ นั้นเป็นแบบอสมาตร กล่าวคือ ความสุขในชีวิตคู่ส่งผลมากต่อความสุขในชีวิต แต่ความสุขในชีวิตไม่ได้ส่งผลที่ชัดเจนต่อความสุขในชีวิตคู่
บทสรุป
การค้นพบของการวิจัยนี้บ่งชี้ว่า ค่าความสุขในชีวิตคู่สามารถใช้พยากรณ์ค่าความสุขของชีวิตในอนาคตได้ ผู้หญิงที่มีความสุขในชีวิตคู่ระหว่างตั้งครรถ์ จะมีความสุขกับชีวิตในสามปีหลังจากนั้น มากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีความสุขในชีวิตคู่
แม้ว่าผลการวิจัยนี้จะออกมาเหมือนกับงานวิจัยก่อนๆ แต่งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าทั้งสองตัวแปรนั้นมีความสัมพันธ์กันในเชิงข้ามเวลา
และชีวิตคู่ที่ดีมีความสำคัญอย่างมาก สำหรับอนาคตของสมาชิกสภาและนักการเมือง และผู้ปกครองที่ดี เพราะมันส่งผลต่อความสุขของพวกเขาในอนาคต
นอกจากนั้น ชีวิตคู่ที่มีความมั่นคง (Stable relationships) สำคัญอย่างมากต่อสุขภาพจิตของคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ ของพวกเขา
ดังนั้น การกระตุ้นให้คู่รักสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคงต่อกัน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตในอนาคตที่มีความสุขของพวกเขา
สนใจบริการจัดหาคู่ ติดต่อสอบถามได้ที่ ไลน์บริษัทจัดหาคู่ MeetNLunch Line id: @meetnlunch (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
_______________________________________
Reference
แปลจาก Dyrdal, G. M., Røysamb, E., Nes, R. B., & Vittersø, J. (2010). Can a Happy Relationship Predict a Happy Life? A Population-Based Study of Maternal Well-Being During the Life Transition of Pregnancy, Infancy, and Toddlerhood. Journal of Happiness Studies,12(6), 947-962. doi:10.1007/s10902-010-9238-2
Argyle, M. (1999). Causes and correlates of happiness. In D. Kahneman, E. Diener, & N. Schwartz (Eds.), Well-being. The foundations of hedonic psychology (pp. 353–373). New York: Russell Sage Foundation.
Belsky, J. (1985). Exploring individual differences in marital change across the transition to parenthood: The role of violated expectations. Journal of Marriage & the Family, 47, 1037–1044.
Brickman, P., & Campbell, D. T. (Eds.). (1971). Hedonic relativism and planning the good society. New York: Academic Press.
Brickman, P., Coates, D., & Janoff-Bulman, R. (1978). Lottery winners and accident victims: Is happiness relative? Journal of Personality and Social Psychology, 36, 917–927.
Glenn, N. D. (1975). The contribution of marriage to the psychological well-being of males and females. Journal of Marriage & the Family, 37, 594–600.
Glenn, N. D., & McLanahan, S. (1982). Children and marital happiness: A further specification of the relationship. Journal of Marriage & the Family, 44, 63–72.
Glenn, N. D., & Weaver, C. N. (1979). A note on family situation and global happiness. Social Forces, 57, 960–967.Google Scholar
Glenn, N. D., & Weaver, C. N. (1981). The contribution of marital happiness to global happiness. Journal of Marriage & The Family, 43, 161–168.
Hawkins, D. N., & Booth, A. (2005). Unhappily ever after: Effects of long-term, low-quality marriages on well-being. Social Forces, 84, 451–471.
Headey, B., Veenhoven, R., & Wearing, A. (1991). Top-down versus bottom-up theories of subjective well-being. Social Indicators Research, 24, 81–100.
Lance, C. E., Lautenschlager, G. J., Sloan, C. E., & Varca, P. E. (1989). A comparison between bottom-up, top-down, and bidirectional models of relationships between global and life facet satisfaction. Journal of Personality, 57, 601–624.
Magnus, P., Irgens, L. M., Haug, K., Nystad, W., Skjaerven, R., Stoltenberg, C., et al. (2006). Cohort profile: The Norwegian Mother and Child Cohort Study (MoBa). International Journal of Epidemiology, 35, 1146–1150.
Norton, R. (1983). Measuring marital quality: A critical look at the dependent variable. Journal of Marriage and the Family, 45, 141–151.