มาทำความรู้จักต้นกำเนิดของบริการจัดหาคู่ในประเทศต่างๆ กันเถอะ
บริการจัดหาคู่ โดยทั่วไปจะหมายถึง แม่สื่อ บริษัท หรือแพลตฟอร์ม ที่แนะนำคนโสดทั้งสองฝ่ายให้รู้จักกันเพื่อการแต่งงาน ในบทความนี้จะพูดถึงวิวัฒนาการของบริการจัดหาคู่ ตั้งแต่ช่วงก่อนสมัยใหม่หรือในก่อนศตวรรษที่ 17 จนประทั่งศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน
ในช่วงแรก จะเป็นการทำงานของบริการจัดหาคู่ ตั้งแต่การค้นหาคนโสด การแมชกับบุคคลที่เหมาะสม และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อกันของทั้งสองฝ่าย
ในช่วงที่สอง จะพูดถึงการจัดหาคู่ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 17 ซึ่งโดยรวมจะเกี่ยวกับการทำธุรกิจระหว่างครอบครัว จะกล่าวถึงบริการจัดหาคู่ ในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ รวมถึงบริการจับคู่ของชาวยิว
ในช่วงที่สาม จะเป็นเรื่องราวของผลกระทบจากบริการจัดหาคู่ ว่าส่งผลอย่างไรกับการหาคู่แบบปกติ (แบบเจอกันโดยไม่ผ่านแม่สื่อ) ของบุคคลทั่วไปที่มีอิสระในการหาคู่เอง และจะแสดงว่า การแต่งงานจากการหาคู่แบบอิสระในอเมริกา ไม่ได้ลดความต้องการของการใช้บริการจัดหาคู่ลงเลย ซึ่งมีหลักฐานคือ การขยายตัวของธุรกิจและบริการเกี่ยวกับการจัดหาคู่
ช่วงแรก: การทำงานของบริการจัดหาคู่ (Functions of Marriage Intermediaries)
การทำงานของบริการหาคู่ คือการอำนวยความสะดวกให้คนโสดทั้งสองฝ่ายมาพบกัน เหตุผลหลักคือเพื่อความรักที่โรแมนติกและเพื่อการแต่งงาน โดยจะมีขั้นตอนหลักๆ คือ การหาคนโสดที่มี่คุณภาพ การนำข้อมูลว่าวิเคราะห์เพื่อหาคู่แมชที่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อกัน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้แตกต่างกันไปตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่ความแต่งต่างกันเหล่านั้นก็เป็นไปเพื่อเป้าหมายของการแต่งงาน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว บริษัทจัดหาคู่ที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในตัวคนโสดทุกคน เกี่ยวกับสถานะทางสังคม และสถานภาพทางการเงินของพวกเขา และต้องมีความสามารถในการเป็นตัวแทนของทุกๆ ฝ่าย
ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว บริการจัดหาคู่มักจะมีการให้บริการโดยผู้นำในสังคม ผู้นำทางศาสนา หรือบุคคลที่ได้รับความเคารพสูงในสังคมนั้นๆ
แมชเมกเกอร์ที่เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือแม่หม้าย ส่วนผู้หญิงโสดที่เป็นแมชเมกเกอร์นั้น จะพบได้ไม่บ่อยนัก
ในช่วงต่อไป เราจะวิเคราะห์กันว่า บริการจัดหาคู่และการหาคู่แบบอิสระ (Love Marriage) มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ช่วงที่สอง วิวัฒนาการการจัดหาคู่ในประเทศต่างๆ
ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 19 การแต่งงานหลักๆ แล้วเป็นไปเพื่อธุรกิจ ความร่ำรวย และอำนาจทางการเมือง (ในสังคมของชนชั้นสูง) หรือเป็นไปเพื่อความปลอดภัยของครอบครัว และการรักษาทางการแพทย์ (สำหรับชนชั้นล่าง)
เพราะเศรษฐกิจและการเมืองในสมัยนั้น ทำให้บริการจัดหาคู่ถูกมองเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับคนทั้งครอบครัว
ในมิวสิคคัลเรื่อง “Fiddler on the Roof” ตัวละคร Hodel ประกาศว่า “ต้องมีใครสักคนจัดการแมช คนวัยหนุ่มสาวไม่สามารถตัดสินใจเรื่องพวกนี้ได้เอง”
ดังนั้นในสมัยก่อนนั้น บริการจัดหาคู่จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางในธุรกิจด้วย และยังทำหน้าที่เจรจาสัญญาการแต่งงาน
บริการจัดหาคู่ของชาวยิว (Jewish Matchmaking Tradition)
หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานที่สุดของการจัดหาคู่ เริ่มต้นที่สังคมของคนยิว แม่สื่อ หรือ “Shadkhan” เป็นผู้นำของโรงเรียนในสังคมนั้นๆ โรงเรียนถูกสร้างขึ้น เพื่อรักษาศาสนายิว และปกป้องศาสนาจากการทำลายของวัดแห่งที่สองในคริสตศักราชที่ 70 และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตของคนในสังคมนั้น
Shadkhan เป็นคนที่ได้รับความนับหน้าถือตาสูง และความคิดเห็นของ Shadkhan นั้นมีน้ำหนักมาก เพราะนอกจากเขาจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในขนบธรรมเนียมต่างๆ แล้ว เขายังเป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับสมาชิกในสังคม และรู้จักครอบครัวต่างๆ เป็นอย่างดี ดังนั้นเขาคือคนที่เหมาะสมที่สุดในเป็นผู้จัดหาคู่ในสมัยนั้น
นอกจาก Shadkhan อีกบุคคลหนึ่งที่ได้รับความนับหน้าคือตาและได้รับความไว้วางใจให้เป็นแมชเมกเกอร์ คือ Rabbis ซึ่งตัว Rabbis นั้นถูกมองว่าเป็นผู้นำทางศาสนาของคนในสังคม
สำหรับทางประเพณีปฏิบัตินั้น ฝ่ายบิดาจะเป็นผู้เริ่มต้นติดต่อกับแมชเมกเกอร์ และขอ Shadkhan ให้ทำการจัดหาคู่ให้สมาชิกในครอบครัว และโดยทั่วไปนั้น บิดาของคู่แต่งงานใหม่มักจะบริจาคเงินหรือสิ่งมีค่าให้กับโรงเรียนหรือโบสถ์ของชาวยิว (Synagogue) เพื่อแลกกับบริการจัดหาคู่นั่นเอง
เมื่อเวลาผ่านไป Shadkhan ก็มีความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาคู่มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการเสนอบริการที่คิดค่าคอมมิชนั้น 2-3% จากทรัพย์สินเดิมของฝ่ายหญิง เมื่อการแต่งงานนั้นประสบความสำเร็จ
แต่เพราะวิวัฒนาการของบริการแมชเมกเกอร์ Shadkhan ถูกมองว่าเป็นผู้หาผลประโยชน์และไม่มีความซื่อสัตย์กับผู้ใช้บริการ โดยการนำเสนอโปรไฟล์ที่ดีกว่าความเป็นจริง ทำให้ภาพลักษณ์ของ Shadkhan ถูกทำลายลง
ในละครเวทีเรื่อง “Fiddler on the Roof” ในเนื้อเพลงคลาสสิค “Matchmaker, Matchmaker” นั้น Zteitel ได้บรรยายเชิงตลกขบขันถึงวิธีที่ Shadkhan Jente พยายามขายโปรไฟล์ของผู้ชายลามกขี้เหล้า ว่าเป็นผู้ชายที่ดี หายาก
และยังมีการบรรยายเกี่ยวกับ Shadkhan ในเพลงพื้นบ้านภาษายิว (Yiddish folksongs) ในเชิงถากถางอีกด้วย
บริการจัดหาคู่ของชาวไอริช (Irish Matchmaking Tradition)
ประวัติศาสตร์การจัดหาคู่ในไอร์แลนด์นั้น มีมายาวนานจนถึงในยุคปัจจุบัน ในสังคมทุกคนจะรู้จักแม่สื่อ หรือ Lisdoonvarna ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจับคู่แมช
Lisdoonvarna มีขั้นเพื่อแมชคนโสดสองคนสำหรับการแต่งงาน และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมการแมช โดยตำแหน่งนี้นั้น จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับความเคารพสูงจากคนในสังคมจนถึงปัจจุบัน
บริการจัดหาคู่ของคนอังกฤษ
ในสังคมของชนชั้นสูงในอังกฤษ แมชเมกเกอร์นั้นสำคัญอย่างมากกับการแต่งงานของคนในสังคม โดย Suitors จะมีการขอใช้บริการหาคู่เพื่อตามหาเจ้าสาวที่ตัวเองต้องการ
โดยแมชเมกเกอร์จะขอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ และช่วยทั้งสองฝ่ายในการติดต่อกัน เช่นการนำข้อความจากอีกฝ่ายไปบอกอีกฝ่าย และการส่งของขวัญจากอีกฝ่ายไปให้อีกฝ่าย
หน้าที่แมชเมกเกอร์จะถูกแต่งตั้งขึ้นให้กับผู้ที่ได้รับความไว้วางใจสูงจากคนในสังคม และมีการออกกฏเพื่อควบคุมการทำงานของแมชเมกเกอร์ให้มีความโปร่งใส (the conduct of matchmakers)
ช่วงที่สาม Matchmaking and the Love Marriage
คอนเซ้บต์ของการแต่งงานกับคู่ที่ตัวเองหาเองนั้น เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ในยุโรป และส่งผลกระทบกับขั้นตอนการทำงานของบริการหาคู่ เพราะที่ผ่านมานั้นแมชเมกเกอร์จะต้องทำงานร่วมกับทั้งครอบครัว หรือทั้งราชวงศ์ในการแมช แต่เพราะการเกิดขึ้นของ Love Marriage แมชเมกเกอร์จึงปรับการทำงานให้เป็นไปตามความชอบส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการมากขั้น และเป้าหมายการจับคู่เพื่อเศรษฐกิจและสถานะทางสังคม ก็มีการปรับให้เป็นการจับคู่เพื่อความรักที่ยั่งยืน
บริการจัดหาคู่มีการแพร่หลายอย่างมากในอเมริกาตั้งแต่ปี 1979 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สาเหตุที่บริการนี้มีการแพร่หลายอย่างกว้างขวางนั้น เป็นเพราะการแต่งงานไม่ได้มีขึ้นเพราะความจำเป็นทางเศษฐกิจอีกต่อไป แต่ถูกแทนที่ด้วยการเติมเต็มความพึงใจและมาตรฐานในการเลือกคู่ที่สูงขึ้นของผู้ใช้บริการเอง ที่ต้องการหาคู่แมชที่มีความพร้อมทั้งด้านอารมณ์และสติปัญญา
ในขณะเดียวกันนั้นเอง อายุของคู่แต่งงานก็เพิ่มขึ้น เพราะผู้ใช้บริการนั้นเรียนจบการศึกษาที่สูงขึ้น และถูกจำกัดเวลาด้วยงานและความต้องการที่จะเดินทางไปตามที่ต่างๆ จึงทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะได้ออกเดทน้อยลง จนต้องใช้บริการแมชเมกเกอร์เพื่อออกเดทและเข้าถึงแหล่งที่รวมคนโสดคุณภาพดีเอาไว้
ในต้นศตวรรษที่ 20 นั้นมีการเกิดขึ้นของบริการหาคู่แบบออนไลน์ และมีแมชเมกเกอร์หลายเจ้าที่เริ่มให้ผู้ใช้บริการอัดวิดิโอ และส่งไปให้อีกฝ่ายดู แต่นั่นทำให้ผู้ใช้บริการต้องเลือกมากขึ้น และส่งผลให้การตัดสินใจของผู้ใช้บริการแย่ลง ยืนยันโดยงานวิจัยจาก Lenton et al. (2008) และ Yang and Chiou (2011)
ดังนั้นคนที่มีการศึกษาสูงจึงเลือกใช้แมชเมกเกอร์แบบดั้งเดิมมากกว่า แต่พวกเขาเลือกใช้บริการด้วยตัวเอง ไม่ได้ผ่านครอบครัวอีกต่อไป พวกเขาเลือกบริการจัดหาคู่ของแมชเมกเกอร์และมองข้ามบริการแบบออนไลน์ เพราะมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า (Professionalized) และทำตามความต้องการของผู้ใช้บริการได้มากกว่า (Customisation) แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือเพราะแมชเมกเกอร์แบบดั้งเดิมนั้นให้คำปรึกษาด้านการออกเดทและให้คำแนะนำด้านความสัมพันธ์แก่พวกเขาได้ แต่ก็มีบางส่วนที่เลือกใช้บริการออนไลน์ และพบกับความผิดหวัง จึงเปลี่ยนใจมาใช้บริการหาคู่กับแมชเมกเกอร์มืออาชีพ
สนใจบริการจัดหาคู่ ติดต่อสอบถามได้ที่ ไลน์บริษัทจัดหาคู่ MeetNLunch Line id: @meetnlunch (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
____________________________________________________________________
Reference
Adelman, A.C. & Ahuvia, M.B. (1991): “Mediated channels for mate seeking: A solution to involuntary singlehood?”, in: Critical Studies in Mass Communication, No. 8, pp. 273–289.
Adelman, A.C. & Ahuvia, M.B (1992): “Formal intermediaries in the marriage market: A typology and review”, in: Journal of Marriage and the Family, No. 54, pp. 452–463.
Brown, J.S. & Hagel, J. (2013): “The Power of the Business Matchmaker”, in: Fortune http://fortune.com/2013/01/03/the-power-of-the-business-matchmaker/ (visited on 06/20/2016).
Coontz, S. (2008): “The Future of Marriage”, in: Cato Unbound – A Journal of Debate, http://www.cato-unbound.org/2008/01/14/stephanie-coontz/future-marriage (visited on 06/20/2016).
Dyrenforth, P. S., Kashy, D. A., Donellan, M. B., & Lucas, R. E. (2010): “Predicting relationship and life satisfaction from personality in nationally representative samples from three countries: the relative importance of actor, partner, and similarity effects”, in: Journal of Personality and Social Psychology, No. 99, pp. 690–702.
Gottlieb, L. (2006): “How do I love thee?”, in: The Atlantic Monthly, pp. 58-70, http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2006/03/how-do-i-love-thee/304602/ (visited on 06/20/2016)
Monger, G. P. (2004): Marriage Customs of the World: An Encyclopedia of Dating Customs and Wedding Traditions, Santa Barbara: ABC-CLIO, Inc.
McGrane, S. (2015): “A Matchmaker and A Festival Keep An Irish Tradition Alive”, in: The New York Times, http://www.nytimes.com/2015/02/04/world/europe/a-matchmaker-and-a-festivalkeep-an-irish-tradition-alive.html (visited on 06/20/2016).
www.metrolyrics.com (2016): “Matchmaker, Matchmaker” http://www.metrolyrics.com/matchmaker-lyrics-fiddler-on-the-roof.html. (visited on 06/20/2016).