TIMELINE OF LOVE : เส้นทางแห่งความรัก
จากการค้นคว้าและวิจัยของศาสตราจารย์เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาชีวภาพแห่งสถาบันคินเซย์ (Kinsey) และมหาวิทยาลัยรัทเกอรส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา บอกให้เรารู้ว่า เวลาที่เราเกิดความรัก สมองของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงกับความรู้สึกต่างๆไปด้วย
BEGIN
แรกเริ่มที่พบกัน
ความรู้สึกชอบพอถูกใจ อยากพบหน้าพูดจาเมื่อช่วงแรกที่พบกันนั้นเปรียบได้กับการเสพติด ซึ่งมีผลมาจากพื้นที่ในสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า นิวเครียสแอกคัมเบนส์ หรือ Nacc จะส่งสารสื่อประสาทโดปามีนออกมา ทำให้เกิดความพึงพอใจมากๆ จนเราอยากทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
"เราจะรู้สึกอยากใกล้ชิดเขาอยู่เสมอ อย่าลืมสิ่งสำคัญคือการวางตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่จะพัฒนาขึ้น"
ช่วงตกหลุมรัก
แม้จะเป็นช่วงเวลาของความสุข แต่ก็แฝงความเครียดและความกังวลใจ
นักวิทยาศาสตร์ตรวจสมองของคนที่เพิ่งตกหลุมรักพบว่ามีสภาวะเครียดร่วมด้วยชัดเจน สมองจะจดจำรายละเอียดต่างๆและประมวลเกี่ยวกับคนที่เราสนใจในเชิงบวกเป็นพิเศษ บางครั้งเราจะมองคนที่เราชอบหรือหลงรักเป็นเสมือนเจ้าชายเจ้าหญิง และคิดถึงแต่คนนี้
"เตือนสติตัวเองเอาไว้ว่า ควรใช้เหตุผลพิจารณานิสัยใจคอของอีกฝ่ายด้วย อย่างมองข้ามการกระทำหรือสิ่งใดก็ตามที่ทำให้คุณรู้สึกว่าไม่ใช่"
แยกแยะความรู้สึกความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน
เมื่อตกหลุมรัก สิ่งที่ตามมาคือ ความสงสัยและความไม่แน่ใจ
คนที่มีความรักมักเป็นกังวลว่า คนรักจะรักตอบหรือไม่ ซึ่งส่งผลจากพื้นที่เล็กๆ ในสมองที่เรียกว่าแองกูลาร์ ไจรัส (Angular Gyrus) ที่ทำหน้าที่ทำความเข้าใจเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก และเจตนาของคนอื่น สมองส่วนนี้จะทำงานหนักมากเวลาเราตกหลุมรัก
"สิ่งสำคัญคือ อย่ามองความรักเป็นเกม สิ่งที่คิดในใจควรนำมาพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา"
ความสัมพันธ์คงทีในการคบหา
หากผ่านช่วงเวลาแห่งความเครียดและความสุขในใจของการตกหลุมรักไปได้
ความสัมพันธ์ก็จะเข้าสู่ช่วงคงที่ซึ่งถูกควบคุมโดยสารเคมีตัวอื่น ช่วงเวานี้ปริมาณฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรักความผูกพันจะเพิ่มขึ้นสู้กับความเครียดและความกังวล ทั้งช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัยและสันติในความสัมพันธ์
"ควรรักษาประคองความรักความสัมพันธ์ให้ดี เพราะเป็นช่วงหมดความหลงและเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง จะผูกพันหรือแยกทางก็ตัดสินจากช่วงเวลานี้ไป"
เกิดความขัดแย้งจนถึงขั้นเลิกรา
ทำไมเราถึงรู้สึกเศร้าเมื่ออกหักหรือความสัมพันธ์ระยะยาวยุติ เพราะสมองจะขาดสารฟีนิลเอธิลามีน
ที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว และหยุดหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินฉับพลันเหมือนอาการคนติดยาเสพติดแล้วหยุดใช้ทันทีนั่นเองอีกทั้งสมองยังหลั่งสารคอร์ติวอล ซึ่งเป้นสารแห่งความทุกข์ออกมาแทน ทำให้เรามีอาการกินข้าวไม่ลง ร้องไห้ เศร้า
" ควรคิดบวก อยู่กับเพื่อนหรือครอบครัวหาวิธีระบายความทุกข์ออกไป "
ระยะพักใจก่อนเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่
ในช่วงนี้ความรู้สึกอกหักไม่ต่างกับการเผชิญโรคซึมเศร้าการอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ
ที่กลายเป็นความทรงจำยิ่งตอกย้ำให้นึกถึงอดีต วิธีง่ายๆที่ช่วยได้คือ อย่าอยู่คนเดียว เมื่อผ่านระยะนี้ไปได้ สมองจะทบทวนถึงสิ่งที่ผ่านมาและแปรเปลี่ยนเป็นประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง
" นำประสบการณ์นี้ไปปรับใช้กับความรักครั้งใหม่เพื่อไม่ใหห้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีก "
สนใจบริการจัดหาคู่ ติดต่อสอบถามได้ที่ ไลน์บริษัทจัดหาคู่ MeetNLunch Line id: @meetnlunch (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
โพสต์แนะนำ
7 วิธีขอเป็นแฟน ไม่ควรพลาด ถ้าไม่อยากติด Friend Zone ลองทำแบบนี้! ใครกำลังมีอาการตกหลุมรักแบบถอนตัวไม่ขึ้น จนอยากจะเขยิบความสัมพันธ์ไปอีกขั้น อยากจะเข้าใกล้เขาอีกสักนิด จากเพื่อนหรือคนคุยไปสู่สถานะ “แฟน” ละก็ ในบทความนี้ MeetNLunch จะมาแนะนำ 7 วิธีขอเป็นแฟนแบบโร...แนะนำ 12 ข้อดีของการมีแฟน มีแล้วดีอย่างไร? ใครที่กำลังอยู่ในสถานะโสดหรือใครที่มีคนคุยอยู่แล้ว คงอาจจะเคยสงสัยว่าการมีแฟนนั้นดีกว่าการเป็นโสดมากน้อยแค่ไหน ในบทความนี้ MeetNLunch จะมาบอกข้อดีของการมีแฟนให้ได้รู้กัน เผื่อว่าใครกำลังตัดสินใจอย...5 ข้อสำคัญควรคำนึง ก่อนเริ่มหาแฟนต่างชาติจากเว็บไซต์หาคู่ ทุกวันนี้ แอปพลิเคชันและเว็บหาคู่จริงจังมีจำนวนมากขึ้น ทำให้การหาแฟนชาวต่างชาติเข้าถึงง่ายขึ้น เราสามารถพูดคุย ส่งแลกแชทกับคนที่แมทช์บนแอปฯ ได้สะดวก แม้จะอยู่คนละประเทศกันก็ตาม ทั้งนี้ ใครที่อยากห...